ISO14001:2015
ISO 14001 คือ มาตรฐานระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม (Environment management System) ที่
ได้รับการยอมรับมากที่สุดจากหน่วยงานองค์กรทั่วโลก มีวัตถุประสงค์เพื่อให้องค์กรมีความตระหนักถึงความ
สำคัญของการจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อให้เกิดการพัฒนาสิ่งแวดล้อมควบคู่กับการพัฒนาธุรกิจ โดยมุ่งเน้นใน
การป้องกันมลพิษและรักษาสิ่งแวดล้อมเป็นหลักและลดต้นทุนการผลิตในธุรกิจ
หลักการสำคัญของ ISO 14001
1) การกำหนดนโยบายสิ่งแวดล้อม: ผู้บริหารสูงสุดขององค์กรต้องกำหนดนโยบายสิ่งแวดล้อม เพื่อเป็น
แนวทางการดำเนินการด้านสิ่งแวดล้อมขององค์กร โดยจะต้องกำหนดนโยบายสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมกับ
สภาพ ขนาดและประเภทธุรกิจขององค์กร ซึ่งนโยบายสิ่งแวดล้อมต้องแสดงความมุ่งมั่นต่อการป้องกันมลพิษ
หรือลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากกิจกรรมต่าง ๆ
2) การวางแผน: วางแผนการดำเนินงานให้สอดคล้องกับนโยบายสิ่งแวดล้อมที่องค์กรตั้งขึ้น โดยกำหนด
ระเบียบปฏิบัติงานระบุลักษณะปัญหาสิ่งแวดล้อม , กำหนดระเบียบปฏิบัติงานพิจารณาข้อกำหนดในกฎหมาย
และระเบียบอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง , กำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อมให้สอดคล้องกับนโยบาย
รวมทั้งความมุ่งมั่นที่จะป้องกันและลดมลพิษจากการระบุลักษณะปัญหาสิ่งแวดล้อม และจัดทำแผนงานสิ่ง
แวดล้อม เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมาย โดยแสดงระยะเวลาของแผนฯ ผู้รับผิดชอบและดัชนีวัด
ประสิทธิภาพอย่างชัดเจน
3) การนำไปปฏิบัติและการดำเนินงาน: กำหนดโครงสร้าง และบุคคลที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดการสิ่ง
แวดล้อมให้ชัดเจน เช่นผู้รับผิดชอบด้านกฎหมาย ผู้รับผิดชอบภาวะฉุกเฉิน ตลอดจนผู้แทนฝ่ายบริหารด้านสิ่ง
แวดล้อม ฯลฯ เพื่อที่จะให้แผนงานสิ่งแวดล้อมสามารถดำเนินการไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ และประเมินความ
ต้องการการฝึกอบรม แผนการฝึกอบรม การประเมินผล การฝึกอบรมฯลฯ เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจให้แก่
บุคลากรในองค์กร เพื่อที่จะควบคุมการปฏิบัติงานให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างน้อยที่สุด
4) การตรวจสอบและการปฏิบัติการแก้ไข: องค์กรติดตามและวัดผลการดำเนินงาน โดยเปรียบเทียบกับ
แผนที่วางเอาไว้ แจกแจงสิ่งต่าง ๆ ที่ไม่เป็นไปตามแผน และทำการตรวจประเมินการจัดการสิ่งแวดล้อมเป็น
ระยะ เพื่อยืนยันความถูกต้องสมบูรณ์ของระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมที่กำหนดไว้
5) การทบทวนและการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง: ผู้บริหารองค์กรทำการทบทวนระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม
ตามระยะเวลาที่เหมาะสมเพื่อให้มีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
ประโยชน์ของ ISO 14001
1) ช่วยเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับองค์กร
2) ช่วยลดต้นทุนการผลิต ลดค่าใช้จ่ายในการจัดการของเสีย
3) ก่อให้เกิดการบริหารงานด้านสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบ
4) สร้างโอกาสและเพิ่มศักยภาพ ในการแข่งขันทางการค้า
5) เกิดการใช้ทรัพยากรหรือวัตถุดิบอย่างคุ้มค่า
6) องค์กรได้รับความเชื่อมันและความไว้วางใจในคุณภาพ
7) ปฏิบัติตามกฎหมายระเบียบ ข้อบังคับ และข้อกำหนดต่าง ๆ ด้านสิ่งแวดล้อม
การรับรองระบบจัดการสิ่งแวดล้อม มาตรฐาน ISO 140001
ในการดำเนินการขอรับการรับรองระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ทางองค์กรจะต้องจัดทำระบบตามข้อ
กำหนดในมาตรฐาน ISO 140001 จะมีขั้นตอนหลัก ๆ ดังนี้
1) ศึกษาอนุกรมมาตรฐาน ISO 14000 ประกอบด้วย มาตรฐานระบบการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม , การตรวจ
สอบประเมินการจัดการสิ่งแวดล้อม , ฉลากกับผลิตภัณฑ์เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม , การประเมินความสามารถ
ในการจัดการสิ่งแวดล้อม,การประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ และมาตรฐานอื่น
ภายใต้ TC 207
2) ประชุมฝ่ายบริหาร เพื่อขอการสนับสนุน ในการจัดทำระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม
3) ตั้งคณะกรรมการชี้นำ เพื่อจัดทำระบบและควบคุมดูแลให้เป็นไปตามที่กำหนด
4) กำหนดนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม วางแผนการจัดการระบบ จัดทำวิธีการปฏิบัติ และคำแนะนำที่จำเป็น
5) ลงมือปฏิบัติตามระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ได้กำหนดไว้
6) ตรวจติดตามระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม เพื่อทำการตรวจสอบว่าระบบเป็นไปตามแผนและข้อกำหนดของ
มาตรฐาน และได้มีการนำไปใช้ปฏิบัติและคงไว้อย่างเหมาะสม
7) แก้ไขข้อบกพร่องที่พบจากการตรวจติดตามภายใน และปรับปรุงระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมให้มี
ประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
8) ติดต่อหน่วยงานที่ให้การรับรองและยื่นคำขอ
มาตรฐานสากลฉบับ ISO 14001:2015
เมื่อเดือนกันยายน 2015 ได้มีการประกาศใช้ ISO 14001:2015 ฉบับมาตรฐานสากล (IS) ซึ่งมี
การเปลี่ยนแปลงสำคัญ 7 ประการคือ
1) การจัดการสิ่งแวดล้อมเป็นส่วนหนึ่งในกลยุทธ์ขององค์กร: เพิ่มบทบาทในกระบวนการวางแผน
กลยุทธ์ โดยสนใจในการดำเนินการเพื่อลดความเสี่ยงหรือใช้โอกาสให้เป็นประโยชน์
2) ความเป็นผู้นำ: ผู้บริหารสูงสุดต้องแสดงให้เห็นถึงความเป็นผู้นำ และความมุ่งมั่นที่เกี่ยวข้องกับระบบการ
บริหารสิ่งแวดล้อม
3) การปกป้องสิ่งแวดล้อม: มีความมุ่งมั่นในการปกป้องสิ่งแวดล้อม เช่น การป้องกันมลพิษ และความมุ่งมั่น
เฉพาะอื่น ๆเพื่อปกป้องสิ่งแวดล้อม เช่น การใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน , การบรรเทาผลกระทบจากการ
เปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและปรับตัว , การปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพและระบบนิเวศ
4) สมรรถนะด้านสิ่งแวดล้อม: เพิ่มความตระหนักในสมรรถนะด้านสิ่งแวดล้อม โดยการเน้นในนโยบาย
5) แนวคิดวัฏจักรชีวิต: เพิ่มการควบคุมทั้งทางตรงกับทางอ้อมต่อผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง
ตลอดวัฏจักรชีวิต
6) การสื่อสารที่ดีขึ้น: มีกลยุทธ์ในการสื่อสารภายในและภายนอก รวมถึง stake holders สร้างกลไกเพื่อให้
มีข้อเสนอแนะในการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
7) เอกสาร: เปลี่ยนการใช้คำว่า documents กับ records เป็น documented information และตระหนักถึง
การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี เช่น การใช้คอมพิวเตอร์ หรือ cloud